น้ำรั่วทะลุเพดาน ปัญหาที่มาพร้อมกับความปวดหัวว่าใครต้องรับผิดชอบ
หนึ่งในปัญหาของคนที่อยู่อาศัยในคอนโดที่มักจะพบบ่อยๆ คือ น้ำรั่วจากห้องข้างบนทำให้น้ำหยดลงมายังห้องของเรา ปัญหานี้เมื่อพิจารณาแล้วอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมสภาพของท่อน้ำ ท่อรั่วหรือแตก ปั๊มน้ำคอนโดเสีย หรือบางทีเกิดจากตัวผู้อยู่คอนโดเองที่ไม่อยู่ห้องนานแล้วลืมปิดน้ำ ปิดก๊อกน้ำไม่สนิท ก๊อกน้ำเสีย เป็นต้น
.
เมื่อพบปัญหาน้ำรั่วซึมภายในคอนโดนั้นเกิดขึ้นจนกระทั่งมีน้ำรั่วทะลุลงมายังฝ้าเพดาน ให้ตรวจสอบก่อนว่าปัญหานั้นมาจากสาเหตุใด และทำการแจ้งที่ฝายนิติบุคคลเพื่อมาทำการตรวจสอบ โดยจะต้องดูว่าจุดเกิดเหตุนั้นเป็นทรัพย์สินของใคร เป็นของส่วนกลางหรือส่วนบุคคล แล้วปัญหาเกิดจากอะไรมีความคุ้มครองจากประกันภัยหรือไม่ เพราะแต่ละคอนโดจะมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน ดังนั้นการตรวจสอบปัญหาคอนโด แนะนำว่าเจ้าของห้องคอนโดที่ได้รับความเสียหายควรจะอยู่ร่วมตรวจสอบและถ่ายรูปบันทึกหลักฐานเอาไว้
.
ปัญหาคอนโดที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของนิติบุคคล ทางนิติบุคคลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและซ่อมแซม
.
กรณีตัวอย่าง ห้อง A เป็นห้องที่ด้านบนติดกับดาดฟ้าของอาคาร เมื่อมีน้ำรั่วซึมทำความเสียหายให้กับห้อง A ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบก็เป็นนิติบุคคลที่ดูแลอาคาร เพราะท่อน้ำบนพื้นที่ดาดฟ้านั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการเสื่อมสภาพไม่อาจจะเคลมประกันได้ ต้องนำเงินส่วนกลางของนิติบุคคลมาดูแลซ่อมแซม
.
กรณีตัวอย่าง สปริงเกอร์เกิดเหตุขัดข้องมีน้ำเจิ่งนองจนโถงทางเดินและภายในห้อง A เปียกน้ำ พื้นไม้ภายในห้อง A ได้รับความเสียหายเปียก บวมชำรุด ถ้าเป็นกรณีนี้นิติบุคคลต้องเป็นผู้รับผิดชอบเช่นเดียวกัน เพราะจุดเกิดเหตุนั้นเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมาจากสปริงเกอร์ที่เป็นระบบของคอนโด ถ้ายังอยู่ในความคุ้มครองของประกันภัย นิติบุคคลสามารถเคลมประกันได้
ปัญหาคอนโดที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนบุคคล ถ้าจุดที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ส่วนบุคคลของเจ้าของห้องใดเจ้าของหนึ่งแล้ว ความรับผิดชอบในการซ่อมแซมนั้น จะต้องเป็นของเจ้าของห้องนั้น
กรณีตัวอย่าง ห้อง A มีน้ำรอยซึมในห้องเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าสาเหตุมาจากท่อน้ำทิ้ของห้อง B ที่ไหลเข้ามาในห้อง A ถ้าเป็นแบบนี้ความรับผิดชอบค่าเสียหายจะอยู่ที่ห้อง B ที่จะต้องจ่ายค่าซ่อมให้ ส่วนห้อง A ถ้ามีการทำประกันไว้และครอบคลุมก็จะสามารถเคลมประกันได้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากปัจจัยภายนอก
.
กรณีตัวอย่าง ห้อง A ได้เกิดอุบัติเหตุสาย flex ของซิงค์ล้างจานแตกของ น้ำท่วมไปห้อง B ห้อง A ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของการซ่อมความเสียหายของห้อง B ด้วย กรณีหากห้อง A ทำประกันภัยไว้จะสามารถเคลมได้ทั้งการซ่อมภายในห้อง A และ ห้อง B
.
กรณีตัวอย่าง เกิดท่ออุดตันของสุขภัณฑ์ในห้อง A จนเกิดน้ำขังในบางจุดของห้อง แบบนี้ห้อง A ก็ต้องรับผิดชอบเองเพาะเป็นปัญหาที่เกิดในพื้นที่ส่วนบุคคลและไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกใด ๆ
.
จะเห็นว่าปัญหาคอนโดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพราะอุปกรณ์เสื่อมสภาพหรืออุบัติเหตุก็ตาม หากมีประกันภัยก็จะช่วยบรรเทาเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้ การทำประกันภัยนั้นจะแบ่งเป็นสองส่วน ทั้งทางนิติบุคคลจะทำประกันภัยในพื้นที่ส่วนกลางที่จะครอบคลุมประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดทุกกรณีที่จะเกิดขึ้นกับอาคารและทรัพย์ส่วนกลาง ได้แก่ สิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร รั้ว ฝ้าเพดาน ผนังโดยรอบ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงลิฟต์และงานระบบต่างๆ
.
ส่วนที่เป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลนั้น เจ้าของคอนโดต้องเป็นผู้ทำประกันเอง ซึ่งเวลายื่นกู้นั้น ทางธนาคารก็จะขอให้ทำประกันภัยอยู่แล้ว แต่กรมธรรม์นั้นอาจจะคุ้มครองความเสียหายที่มาจากอุบัติเหตุ ปัจจัยภายนอก ภัยธรรมชาติ อย่างไฟไหม้ ฟ้าผ่า น้ำท่วม แต่อาจจะไม่ได้คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการเสื่อมสภาพ
.
หากเป็นปัญหาคอนโดที่เกิดขึ้นโดยสาเหตุนั้นมาจากห้องคอนโดของเรา ที่ไปทำความเสียหายให้กับห้องอื่นหรือพื้นที่ส่วนกลาง ที่เราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจะสูงมาก ควรจะทำประกันภัยให้ครอบคลุมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น จะช่วยลดภาระได้มากเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
.
ทั้งนี้ผู้อยู่คอนโดควรจะทราบไว้ด้วยว่าคอนโดจะมีระบบแรงดันของน้ำที่แรงกว่าที่อยู่อาศัยแนวรายอย่างบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ เมื่อมีการอยู่อาศัยมาระยะหนึ่งแล้ว ควรจะมีการตรวจสอบรอยต่อของท่อตามกำหนดของการตรวจสอบอาคารที่ควรทำปีละครั้ง ซึ่งจะต้องมีผู้ตรวจสอบมาตรวจอาคารตามกฏหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้เพื่อป้องกันปัญหาคอนโดที่จะเกิดขึ้น
.
ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่..
.
– web : https://haabaandee.com/
– Line :
– IG :
– Tiktok :
– Twitter :
– Youtube :
– blogspot :
– facebook :
– blockdit :
– pinterest :
#habbdee, #เว็บไซต์ธุรกิจ, #ธุรกิจ, #เว็บไซต์, #แพลตฟอร์ม, #businessplatform,