เหตุผลเหล่านี้คือข้อกฏหมาย และประกาศจากคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 … แน่นอนว่าภาษากฏหมายมีความซับซ้อนอ่านแล้วเวียนหัวแน่นอน ผู้เขียนจะพยายามเขียนสรุปให้อ่านง่าย ๆ ใต้ข้อกฏหมายแต่ละข้อ
.
1. ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ไม่มีข้อกำหนดในการให้ยึดเงินมัดจำ
.
หมายความว่า : หากในสัญญาระบุให้สามารถยึดเงินมัดจำได้ สัญญานั้นถือว่าไม่เป็นไปตามแบบที่ สคบ. กำหนด ข้อสัญญานั้นจึงไม่มีผลในการบังคับใช้ได้ และถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
2. มาตรา ๓๗๘ มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ (๑) ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระหนี้ (๒) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ หรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น (๓) ให้ส่งคืนถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ
.
หมายความว่า : 1. ถ้ากู้ผ่านหรือเป็นไปตามปกติ เงินดาวน์ก็จะไปหักในส่วนของค่าห้อง 2. จะโดนโครงการยึดก็ต่อเมื่อเราผิดสัญญา เช่น ไม่ยอมจ่าย ยกเลิกสัญญาเอง ส่วนการยื่นกู้สินเชื่อจากธนาคารด้วยตนเองแล้วไม่ผ่านตรงนี้ลองปรึกศาลแผนกคดีผู้บริโภคดู แต่ถ้าทางโครงการยื่นกู้ให้อันนี้ถือว่าไม่ใช่ความผิดเรา 3. คืนเงินดาวน์ หากทางโครงการผิดสัญญา เช่น สร้างเสร็จไม่ทัน สร้างไม่ตรงตามแบบ เป็นต้น
.
ต้องทำอย่างไรเพื่อให้โครงการยอมคืนเงินดาวน์
.
ตอนแรกเราอาจจะคิดว่าต้องปรึกษาทนาย แต่จริง ๆ แล้วอาจจะง่ายกว่านั้น เพียงเก็บรวบรวมหลักฐานทั้งหมด แล้วไปฟ้องศาลแผนกคดีผู้บริโภค โดยจะมีแผนกนี้ประจำอยุ่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง จะฟ้องด้วยหนังสือ หรือด้วยวาจาก็ได้ จะใช้ทนาย หรือไปด้วยตัวเองก็ได้ สำหรับคนที่ต้องการจะฟ้อง สคบ. อาจจะนานไป เพราะอย่างต่ำก็ 6 เดือนถึงจะเห็นความคืบหน้า
.
เมื่อมีการไกล่เกลี่ยและคอนโดต้องคืนเงินดาวน์ของเรา แนะนำว่าอย่าให้โครงการจ่ายเป็นงวด ๆ ให้เขาจ่ายเต็มไปเลย เพราะถ้าแบ่งจ่ายเป็นงวดอาจจะยืด หรือเบี้ยวได้ การริบเงินดาวน์มีความซับซ้อนกว่านั้น
.
การอนุมัติของธนาคารไม่ได้มีแค่ผ่าน – ไม่ผ่าน แต่มันมีอนุมัติไม่เต็มวงเงิน หรือให้หาผู้กู้ร่วมด้วย ซึ่งตรงนี้จะทำให้การพิจารณาตัดสินมีความยุ่งยากมากขึ้น แต่ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะศาลแผนกคดีผู้บริโภคเองก็รับเคสนี้ไว้หลายเคสเช่นกัน ถ้าเราไม่จงใจที่จะยกเลิกการซื้อขายเองก็น่าจะมีทางออกที่น่าพอใจ
.
สุดท้ายกันไว้ก็ดีกว่าแก้
หากโครงการ หรือพนักงานขายบอกว่าจะคืนเงินดาวน์ให้ในกรณีที่กู้ไม่ผ่าน เราควรให้เขาระบุในสัญญาเอาไว้ให้ละเอียดในทุกกรณีที่เป็นไปได้เลย เช่น คืนเมื่อกู้ไม่ผ่าน ไม่รวมกรณีการกู้ร่วม และ คืนเมื่อกู้ได้ไม่เต็ม 100 % เป็นต้น นอกจากนี้หากเรากู้ไม่ผ่าน ควรให้ธนาคารทำหนังสือแจ้งเป็นรายลักษณ์อักษรเพื่อให้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนด้วยว่าจะคืนเงินดาวน์ให้ในกรณีที่กู้ไม่ผ่าน เราควรให้เขาระบุในสัญญาเอาไว้อย่างละเอียด ละเอียดในทุกกรณีที่เป็นไปได้เลย เช่น คืนเมื่อกู้ไม่ผ่าน ไม่รวมกรณีการกู้ร่วม และ คืนเมื่อกู้ได้ไม่เต็ม 100 % เป็นต้น นอกจากนี้หากเรากู้ไม่ผ่าน ควรให้ธนาคารทำหนังสือแจ้งเป็นรายลักษณ์อักษรเพื่อให้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนด้วย
.
ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่..
.
– web : https://haabaandee.com/
– Line :
– IG :
– Tiktok :
– Twitter :
– Youtube :
– blogspot :
– facebook :
– blockdit :
– pinterest :
#habbdee, #เว็บไซต์ธุรกิจ, #ธุรกิจ, #เว็บไซต์, #แพลตฟอร์ม, #businessplatform,