4 สาเหตุ ฝ้าชายคาบ้าน ผุพังก่อนเวลา
ฝ้าภายนอกผุพัง เกิดจากอะไร
สายตาของเรามักจะถูกดึงความสนใจไปยังจุดที่แตกต่างเสมอ สำหรับงาน ฝ้าชายคา ที่ทำหน้าที่ปกปิดโครงหลังคาที่ยื่นออกมานอกตัวบ้านก็เช่นกัน นอกจากเสริมให้บ้านดูสวยงามและช่วยกันแดดกันฝน ในทางกลับกันหากบนชายคามีแผ่นฝ้าผุหรือหลุดล่อนเป็นช่องโหว่บริเวณนั้นจะกลายเป็นจุดโฟกัส ทำให้ภาพรวมของบ้านทั้งหลังดูทรุดโทรมลงทันที ชิ้นส่วนฝ้าที่หลุดล่อน ผุ เป็นรูโหว่หรือมีคราบน้ำจะลดความสวยงามของบ้านและในยังเสียหายต่อโครงสร้าง อาจสามารถลุกลามไปยังแผ่นอื่น ๆ และสร้างความเสียหายได้ ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะบ้านเก่าเท่านั้น บ้านใหม่ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน
โดยปกติอายุการใช้งานของฝ้าจะใช้งานได้นานหลายปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ชนิดของวัสดุ การติดตั้งที่ได้มาตรฐาน โครงสร้าง แต่บ้านสร้างใหม่เสร็จเพียงไม่กี่ปี ก็มีโอกาสที่ฝ้าชายคารั่วพังก่อนใครได้ ซึ่งสาเหตุให้ฝ้าชายคาพังเร็วขึ้นมีคำตอบเป็นข้อๆ ดังนี้
.
1.ความชื้นจากฝนสาดและการรั่วซึม
ถึงแม้ ฝ้าชายคา จะมีหลังคาเป็นหมวกคลุม แต่ด้วยตำแหน่งติดตั้งที่อยู่นอกตัวบ้าน ย่อมต้องเผชิญกับทุกสภาวะอากาศ ยิ่งในประเทศไทยที่สภาพอากาศเป็นแบบร้อนชื้น ในช่วงฤดูฝน มีฝนตกชุกย่อมมาพร้อมกับลมกรรโชกแรง ทำให้ละอองฝนพัดพาความชื้นให้กับฝ้าชายคาโดยตรง หากเลือกวัสดุที่ไม่กันแดดกันฝนย่อมมีโอกาสผุเปื่อย พังลงมาในที่สุด และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน เช่น
– น้ำรั่วซึมจากหลังคา กรณีนี้มักเกิดขึ้นจากวัสดุมุงหลังคาบ้านแตกรั่วอยู่ก่อนแล้ว หรือมีจุดรั่วซึมที่โครงสร้าง ทำให้น้ำไหลซึมจากรอยรั่วบนหลังคาลงมายังฝ้าเพดาน ส่งผลให้ฝ้าเริ่มมีรอยด่างน้ำสีน้ำตาลและวงน้ำจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามความชื้นที่สะม เกิดการบวม ขึ้นรา ซึ่งเป็นสัญญาณการผุพังที่บ่งบอกว่าฝ้าชายคาอาจทะลุได้
– น้ำรั่วซึมจากระบบภายในบ้าน อาจเกิดจากการที่มีท่อน้ำภายในหรือท่องานระบบสุขาภิบาลชำรุด ซึ่งจะพบได้มากในบ้านสองชั้นขึ้นไป น้ำที่ค่อย ๆ ซึมออกจากท่อน้ำทิ้งที่เดินบนพื้นเพดานหรือผนัง ส่งผลให้ฝ้ารั่วซึมได้ หรืออีกกรณีที่พบได้บ่อยคือ การทำห้องน้ำโดยไม่ได้ปูวัสดุกันซึมก่อนการปูกระเบื้องพื้น ทำให้น้ำซึมสะสมเข้าสู่ผนังห้องน้ำด้านที่ติดตั้งฝ้าก็เกิดการรั่วซึมได้เช่นกัน
– การรั่วซึมจากช่องว่างและรอยแตกร้าว หากผนังบ้านชั้นบนมีแตกร้าวของผนัง หรือมีช่องว่างระหว่างรอยเชื่อมต่อกับชายคาบ้านชั้นล่าง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้น้ำฝนไหลซึมเข้าอยู่ที่จุดรอยต่อ ส่งผลให้ฝ้าชื้นและรั่วซึม
2.วัสดุฝ้าที่นำมาใช้ไม่เหมาะสมกับฝ้าชายคาภายนอก
สาเหตุต่อไป เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความทนทาน นั้นคือวัสดุที่นำมาใช้ เพราะวัสดุสำหรับงาน ฝ้าชายคา ภายนอกจะต้องมีคุณสมบัติในการทนทานต่อสภาพอากาศ ดังนั้นเจ้าของบ้านต้องเจาะจงเลือกวัสดุที่เหมาะสม ไม่ใช่การนำแผ่นใยไม้อัดแข็งที่ไม่ได้เคลือบสารกันน้ำและกันเชื้อรา หรือแผ่นยิปซัมที่มีกระดาษหุ้ม ไม่ทนต่อน้ำ หากถูกแดดฝนประจำจะผุ เปื่อยยุ่ย ได้ง่ายจนเสียรูปทรงหรือหลุดร่วง
ดังนั้นเมื่อจะเริ่มสร้างบ้าน แนะนำให้ทำการตรวจเช็คในแบบบ้านดูก่อนว่า ฝ้าชายคาหรือฝ้าภายนอกที่สเปกไว้ในแบบและในรายการ BOQ ต้องเป็น “ฝ้าทนแดดทนฝนสำหรับใช้ภายนอก”
.
3.โครงคร่าวไม่แข็งแรง
ฝ้าที่แข็งแรง ต้องติดตั้งบนโครงคร่าวที่แข็งแรงด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยปกติโครงคร่าวสำหรับงานฝ้าเพดาน ประกอบด้วยโครงคร่าวหลัก และอาจจะมีโครงคร่าวซอยตามระยะการติดตั้งมาตรฐาน วัสดุโครงคร่าวต้องแข็งแรง มีมาตรฐาน ไม่มีร่องรอยบิ่น หัก บิด กรณีที่ใช้โครงคร่าวไม้ต้องทาน้ำยาป้องกันปลวกให้เรียบร้อย ในกรณีที่เป็นเหล็กต้องมีการชุบหรือทาสีกันสนิม หรือปัจจุบันหลายบ้านเลือกใช้โครงคร่าวกัลป์วาไนซ์ จะช่วยป้องกันสนิมและไม่มีผลเรื่องปลวกภายหลัง
4.ปลวกกินฝ้า แมลงทำรัง
บ้านทั้งหลังที่ว่าแข็งแรง ก็ยังต้องยอมแพ้ให้สัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างมอดหรือปลวกซึ่งสร้างความเสียหายให้กับสิ่งปลูกสร้างมาแล้วนักต่อนัก โดยเฉพาะงานฝ้าภายนอก อาจมีบางจุดที่เชื่อมต่อกับกิ่งไม้ในสวนหรือมีแมลงเม่าบินเข้ามาเล่นดวงไฟหลังฝนตก หากฝ้าเพดานเป็นฝ้าที่หุ้มด้วยกระดาษก็จะง่ายในการเป็นอาหารปลวก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ ฝ้าชายคา เสียหายได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นการเลือกฝ้าต้องเลือกฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ เช่น ฝ้าสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี ที่ทนแดด ทนฝน และที่สำคัญปลวกไม่กิน
.
ขอขอบคุณข้อมูล : scgbuildingmaterials
.
ติดตามเราเพิ่มเติมได้ที่..
.
– web : https://haabaandee.com/
– Line : https://bit.ly/3GsIH4G
– IG : https://bit.ly/383Dnav
– Tiktok : https://bit.ly/37nIdjd
– Twitter : https://bit.ly/37Y3HDc
– Youtube : https://bit.ly/3ry14yL
– blogspot :https://bit.ly/3t13JBQ
– facebook : https://bit.ly/3ECnnJ7
– blockdit : https://bit.ly/3t13JBQ
– pinterest : https://bit.ly/3sZDSdv
#haabaandee, #เว็บไซต์ธุรกิจ, #ธุรกิจ, #เว็บไซต์, #แพลตฟอร์ม, #businessplatform,